หน้าหลัก
ITA
LPA
ประกาศจากระบบ e-GP
ประกาศจากระบบ e-GP ในเครือข่าย
ช่องทางรับฟังความคิดเห็น
องค์การบริหารส่วนตำบล คำเขื่อนแก้ว ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ
ข้อมูลหน่วยงาน
ข้อมูลหน่วยงาน
บุคลากร
บุคลากร
การบริหารบุคคล
การบริหารบุคคล
ข่าวสาร
ข่าวสาร
แผน
แผน
รายงาน
รายงาน
ระเบียบ
ระเบียบ
บริการประชาชน
บริการประชาชน
องค์การบริหารส่วนตำบลคำเขื่อนแก้ว
อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
 
 
 
 
นายสมาน อุ่นวงศ์
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคำเขื่อนแก้ว
 
 
 
 
 
สถานที่สำคัญ
 
 

เขื่อนปากมูล  (จังหวัด อุบลราชธานี)
คลิกที่ภาพเพื่อขยาย

ลำดับภาพที่ 1/3

ลำดับภาพที่ 2/3

ลำดับภาพที่ 3/3
<<
>>
X
 
ชื่อสถานที่ : เขื่อนปากมูล
 
ที่ตั้ง : ตำบล คำเขื่อนแก้ว อำเภอ สิรินธร อุบลราชธานี 3435
 
ข้อมูล :
ท่องเที่ยวอุบลราชธานี

เขื่อนปากมูล
รูปภาพสถานที่
ที่อยู่
เขื่อนปากมูล ตำบล คำเขื่อนแก้ว อำเภอ สิรินธร อุบลราชธานี 34350

รายละเอียด
เขื่อนปากมูล เป็นเขื่อนหินถมแกนดินเหนียว สร้างกั้นแม่น้ำมูลที่บ้านหัวเห่ว อ.โขงเจียม มีความสูง 17 เมตร ยาว 300 เมตร อำนวยประโยชน์ในด้านการเกษตร และผลิตกระแสไฟฟ้า เขื่อนปากมูลอยู่ห่างจากตัวเมืองอุบลฯ ประมาณ 75 กม. ห่างจากจุดบรรจบของแม่น้ำมูล และอำเภอโขงเจียม ประมาณ 6 กม. สันของเขื่อนปากมูลสามารถใช้เป็นเส้นทางลัดจาก อ.โขงเจียม ไป อ.สิรินธรได้ โดยไม่ต้องย้อนไป อ.พิบูลมังสาหาร นอกจากนี้ บริเวณท้ายเขื่อนยังสามารถล่องเรือชมทิวทัศน์ลำน้ำมูลที่งดงามโดยตลอด ไปบรรจบกับแม่น้ำโขง บริเวณที่เรียกว่า แม่น้ำสองสี ที่ตั้ง โครงการปากมูล เป็นโครงการก่อสร้างเขื่อนอเนกประสงค์ กำหนดจะทำการก่อสร้างเขื่อนปิดกั้นลำน้ำมูล บริเวณบ้านหัวเห่ว ต.โขงเจียม อ.โขงเจียม ซึ่งอยู่ห่างจากตัวจังหวัดอุบลราชธานี ลงไปตามลำน้ำประมาณ 82.5 กิโลเมตร ห่างจากปากแม่น้ำมูล (ที่ไหลลงแม่น้ำโขง) ขึ้นมาทางเหนือน้ำ ประมาณ 6 กิโลเมตร แม่น้ำมูล เป็นแม่น้ำสำคัญที่สุด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย คือ แม่น้ำมูลและแม่น้ำชี พื้นที่รับน้ำของแม่น้ำนี้ กว้างใหญ่ไพศาลถึง 117,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 23 ของพื้นที่ประเทศไทย ปริมาณน้ำฝนที่ตกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณร้อยละ 70 จะไหลผ่านแม่น้ำนี้ลงสู่แม่น้ำโขง มีปริมาณน้ำเฉลี่ยปีละ 23,300 ล้านลูกบาศก์เมตร จัดเป็นอันดับสองของประเทศไทย รองจากแม่น้ำเจ้าพระยา ความเป็นมาของโครงการ ด้วยปริมาณน้ำจำนวนมหาศาล ที่ต้องไหลลงแม่น้ำโขง โดยไม่ได้ใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่านี้ ทำให้สำนักงานพลังงานแห่งชาติ (สพช.) คิดที่จะพัฒนาแหล่งน้ำนี้ให้เกิดประโยชน์ โดยความร่วมมือของรัฐบาลฝรั่งเศส ส่งผู้เชี่ยวชาญเพื่อมาทำการศึกษา และสำรวจเบื้องต้น เมื่อเดือนธันวาคม 2510 รายงานเบื้องต้น แล้วเสร็จเมื่อต้นปี พ.ศ.2511 และรายงานความเหมาะสมได้แล้วเสร็จเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2513 มีที่ตั้งเขื่อนอยู่ที่แก่งตะนะ ห่างจากปากแม่น้ำมูลขึ้นมา 4 กิโลเมตร แต่เนื่อจากปัญหาโยกย้ายราษฎร และลำดับความสำคัญโครงการยังอยู่ในลำดับต่ำ จึงได้หยุดชะงักไป เมื่อเดือนพฤษภาคม 2522 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) รับโอนโครงการนี้มาดำเนินการต่อ ได้ศึกษาและสำรวจ เพื่อทบทวนความเหมาะสม โดยได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลฝรั่งเศส รายงานแล้วเสร็จ ในเดือนพฤศจิกายน 2523 ปรากฏว่า ยังให้ผลประโยชน์คุ้มค่า แต่จากการศึกษาความเหมาะสมทางด้านนิเวศน์วิทยาและสิ่งแวดล้อม ซึ่งแล้วเสร็จเมื่อเดือนมกราคม 2525 ปรากฏว่า มีผลกระทบที่สำคัญคือ ทำให้ราษฎรถึง 4,000 ครัวเรือน เดือดร้อนเพราะต้องย้ายออกจากพื้นที่โครงการ จึงได้ชะลอโครงการไว้ก่อน ต่อมา กฟผ. ได้ทำการศึกษาและสำรวจทบทวนโครงการ โดยให้ลดระดับกักเก็บลง เพื่อลดจำนวนราษฎรที่จะต้องโยกย้าย และย้ายที่ตั้งเขื่อนจากแก่งตะนะ ขึ้นมาทางเหนือน้ำ อีกประมาณ 1.5 กิโลเมตร เพื่ออนุรักษ์ตัวแก่งตะนะ อันเป็นส่วนสำคัญของอุทยานแห่งชาติเอาไว้ รายงานนี้ได้จัดทำแล้วเสร็จเมื่อเดือนตุลาคม 2528 ปรากฏว่า เหมาะสมที่จะลงทุน คือ มีอัตราผลตอบแทนถึงร้อยละ 17.1 และกรณีนี้ จะต้องอพยพราษฎรเพียง 400 ครอบครัว
 
 
ผู้เข้าชม 162 ท่าน         
 
คู่มือประชาชน
เอกสาร แบบฟอร์ม สำหรับติดต่อราชการ
คำแนะนำ
การชำระภาษี
ภาษีป้าย ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
ศูนย์ดำรงธรรม
รับเรื่อง ร้องเรียนร้องทุกข์
 
SOLUTION
เว็บไซต์เพื่อท้องถิ่นไทย
LINK ที่น่าสนใจ
 
 
 
 
องค์การบริหารส่วนตำบลคำเขื่อนแก้ว
ยินดีให้บริการประชาชน
 
 
 
 
 
 
 
 
องค์การบริหารส่วนตำบลคำเขื่อนแก้ว อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี 34350 โทร : 045-210-741
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2551 ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์ 2537 องค์การบริหารส่วนตำบลคำเขื่อนแก้ว
จำนวนผู้เข้าชม 13,109,496 เริ่มนับ 18 มิ.ย. 2562 จัดทำโดย : NAXsolution.com


แผนผังเว็บไซต์
Version ขั้นต่ำของ Browser ที่รองรับ IE9/firefox3.5/Chrome/safari4/Opera10